27 สิงหาคม 2563

ข้อมูลของโรคโควิด

 โรค COVID-19 คือ

 โรคติดเชื้อจากไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งพบการระบาดในช่วงปี 2019 ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน โดยในตอนนั้นเราจะรู้จักกันโรคนี้ในชื่อว่า ไวรัสอู่ฮั่น ก่อนที่ภายหลังจะระบุเชื้อก่อโรคได้ว่าเป็นเชื้อในตระกูลโคโรนาไวรัส แต่เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้น ทางองค์การอนามัยโลก จึงได้ตั้งชื่อโรคติดต่อชนิดนี้ใหม่อย่างเป็นทางการ โดยมีชื่อว่า COVID-19  เพื่อไม่ให้เกิดรอยมลทินกับพื้นที่ที่เกิดการระบาดของโรคด้วย


วิธีป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19

ล้างมือบ่อยๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์
รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้ที่ไอหรือจาม
สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเว้นระยะห่างไม่ได้
ไม่สัมผัสตา จมูก หรือปาก
ปิดจมูกและปากด้วยข้อพับด้านในข้อศอกหรือกระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม
เก็บตัวอยู่บ้านเมื่อรู้สึกไม่สบาย
หากมีไข้ ไอ และหายใจลำบากโปรดไปพบแพทย์                                                                                                                                        

การอ่านข้อมูลสถิติการระบาดในปัจจุบัน

วิดิโอ 



ยุค 5G/6G , Iot , AI

 จุดเริ่มต้นของ “อินเทอร์เน็ต”

อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) โดยเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ และได้มีเว็บไซต์แรกของโลกเกิดขึ้นมา โดยมีชื่อดังนี้

ซึ่งเข้าไปแล้วเราก็จะเห็นเพียงข้อความชุดหนึ่ง พร้อม Hyperlink สำหรับการเข้าถึงข้อมูลเพิ่มเติมเท่านั้น ส่วนด้านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตครั้งแรกในประเทศไทย เกิดขึ้นในปี 1987 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่นี้เอง และถ้าพูดถึงการพัฒนาทางด้านอินเทอร์เน็ตในยุคแรก แนวทางการพัฒนาเกาะติดผ่านระบบสาย จะเป็นไปได้มากกว่า ระบบไร้สายไปมาก โดยเริ่มตั้งแต่ยุค 1G เป็นยุคที่ยังไม่สามารถส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตก้าวข้ามผ่านอากาศไปถึงผู้ใช้ปลายทางได้

ยุค 1G

โดยมือถือยุค 1G ที่ถูกใช้งานครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1984 ก็คือ Motorola DynaTAC 8000X ซึ่งถือว่าเป็นมือถือเครื่องแรกของโลก แต่การติดต่อสื่อสารในยุคนั้นทำได้แค่เพียงการโทรออกและรับสายเท่านั้น

ยุค 2G

และในยุค 2G เริ่มต้นในปี 1991 เราจะเริ่มเห็นอะไรที่มากกว่าการโทรออก – รับสาย นั่นคือระบบ SMS ที่สามารถส่งข้อความเบื้องต้น 160 ตัวอักษรให้กับโทรศัพท์มือถือในยุคนั้น ก้าวข้ามผ่านเพจเจอร์ที่ต้องโทรแจ้งโอเปอเรเตอร์ในการส่งข้อความ และเริ่มเห็นการพัฒนาของมือถือที่นอกจากใช้แค่รับสาย โทรออกแล้ว ยังมีขนาดที่ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับยุค 1G ถ้าใครจำได้ Nokia 3310 นี่แหละคือมือถือที่ดังที่สุดในยุคนี้ “เกมเจ้างูน้อย” อ่ะ เคยเล่นไหม!

ยุค 3G

ยุคที่เป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์การเชื่อมต่อไร้สายนั่นคือยุคของ 3G โดยถูกพัฒนาด้านการส่งผ่าน “Data” ขึ้นจากยุค 2G โดยใช้เวลากว่า 15 ปีในการพัฒนาขึ้นมา เชื่อมต่อบนคลื่นความถี่ตั้งแต่ 400 MHz – 3GHz ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ในระดับ 384 Kbps – 2 Mbps ซึ่งถือว่าสูงมากในยุคนั้น มีระบบ GPS หรือการนำทางเป็นครั้งแรก และที่สำคัญ เป็นยุคที่ศาสดาของศาสนา Apple ได้เปิดตัวมือถือแบบ “ไร้แป้น” ที่โด่งดังที่สุดในโลก “iPhone” นั่นเอง (แต่ไม่ใช่เครื่องแรกของโลกนะ)

ยุค 4G – 4.5G

ยุคปัจจุบันหรือยุคของอินเตอร์เน็ต 4G เป็นยุคที่เรียกได้ว่าเฟื่องฟูในด้านการเชื่อมต่อเป็นอย่างมาก ถูกตั้ง Standard ขึ้นในปี 2008 ใช้งานบนคลื่นความถี่ตั้งแต่ 700 MHz – 2600 MHz สามารถรับ – ส่งข้อมูลในระดับ 300 Mbps ซึ่งได้ถูกพัฒนาต่อเนื่องจนกลายเป็น LTE Advanced หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ 4.5G ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายได้ที่ความเร็วสูงสุดที่ 1.2 Gbps สามารถทำงานได้อย่างลื่นไหล ไม่มีสะดุด หรือแม้แต่การรับชม video on demand ระดับ 4K ก็สามารถทำได้แบบสบาย ๆ

ยุค 5G

และล่าสุดเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ถ้าใครติดตามแบไต๋อย่างต่อเนื่อง เราก็ได้เปิดเผยข้อมูลของอินเทอร์เน็ตในยุค 5G ซึ่งได้จากงาน HUAWEI MBB Forum 2017 ว่า มันคืออนาคตอันใกล้ของ 5G ที่เรากำลังก้าวไปถึง มีความสามารถต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกระจายสัญญาณได้สูงถึง 300 เมตร หรื  สูงประมาณตึกใบหยกเลยทีเดียว


6g

วิทยาการข้อมูล หรือ Data Science

 วิทยาการข้อมูล  (Data Science)

คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการจัดการ จัดเก็บ รวบรวม ตรวจสอบ วิเคราะห์ วิจัย และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่ความรู้ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง (Actionable knowledge) อย่างเช่น การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ กระบวนการดำเนินงาน ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ การวางแผนการตลาด และทิศทางขององค์กรในอนาคต


โดยหลักการแล้ว Data Science ประกอบขึ้นจากศาสตร์หลักๆ คือ Hacking Skill (สกิลเกี่ยวกับ Computer Programimg, Data Base, Big data Technologies)  Statistic & Math (ทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติศาสตร์)  Substantive Expertise (หรือ Domain Knowledge)  Presentation (ทักษะการนำเสนอข้อมูล) และ Visualization 

Data Science ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ แต่มันคือการนำความรู้เดิมที่มีอยู่มารวมและประยุกต์เข้าด้วยกันจนเกิดเป็นของใหม่ ด้วยลักษณะของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในโลกปัจจุบัน การเข้ามาของ Internet of Things  หรือ Censor ต่างๆ ตลอดจน Social media ทำให้เกิดเป็นข้อมูลปริมาณมหาศาล และนำมาสู่ Data Science นั่นเอง



Big Data

                   Big Data 

Big Data คือ ??  ในยุคปัจจุบันที่โลกและธุรกิจกำลังถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาล จนทำให้คำว่า Big Data มีผู้คนสนใจและเป็น Trend ที่กำลังมามาแรงอย่างมาก และเชื่อว่าหลายๆ คนที่ทำงานอยู่ในวงการไอที หรือสายงานอื่นๆก็ตาม ก็คงได้ยินคำว่า Big Data ผ่านหูกันมาบ้างแล้ว เคยเกิดความสงสัยกันบ้างไหมว่า Big data มันคืออะไร วันนี้เราจะมาหาคำ
ตอบกันในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายๆ กันครับ

           Big Dataคือ                

บิ๊กดาต้า (Big Data) คือคำนิยามของข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ทุกชนิดที่อยู่ในองค์กรของเราไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลบริษัท ข้อมูลลูกค้า Suppliers พฤติกรรมผู้บริโภค Transaction ไฟล์เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมไปจนถึง รูปภาพ URLs ลิงค์ต่างๆที่คุณเก็บไว้ ฯลฯ ที่มีปริมาณมากจนกระทั่งซอฟต์แวร์ปกติทั่วไปไม่สามารถรองรับการเก็บข้อมูลหรือประมวลผลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 

ซึ่งอีกนัยนึง Big Data คือเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมหรือ Platform ไอทีรุ่นใหม่ ซึ่งอาจมาในรูปแบบซอฟต์แวร์ ที่สามารถรองรับการจัดเก็บ การจัดการ กรองเลือกข้อมูล การวิเคราะห์ แสดงผล และการใช้งานข้อมูลที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้


ฟอร์มของ นาย อรรถพล มูลมนัส

กำลังโหลด…

รายการหลัก